19 ต.ค. วันเทคโนโลยีของไทย

19 ต.ค. วันเทคโนโลยีของไทย

พิมพ์

19 ตุลาคม

วันเทคโนโลยีของไทย : Thai Technology Day

                ชื่อ : วันเทคโนโลยีของไทย/ Thai Technology Day

                การกำหนดวัน :    การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้มีมติเห็นชอบในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                             ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และให้วันที่ 19 ตุลาคม เป็น "วันเทคโนโลยีของไทย"

                เหตุการณ์สำคัญ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก

                                              ด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และทรงพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลาง

                                              สายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศ เป็นครั้งแรก

 วันเทคโนโลยีของไทยเป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน และกิจกรรมเกี่ยวกับการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่ทรงเป็น พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย โดยมีการเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย  อาทิเช่น

ด้านการเกษตร ทรงค้นคว้าทดลอง วิจัยพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ชนิดต่าง ๆ การศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช การศึกษาสภาพของดิน และพัฒนาให้สามารถส่งเสริมการทำการเกษตรได้ เพื่อเผยแพร่แนะนำให้เกษตรกร นำไปปฏิบัติได้ด้วยราคาถูกและใช้ เทคโนโลยีที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จนทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยพระราชทานพระราชดำริ ให้ตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติต่อได้  ตลอดจนแนวพระราชดำริการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร ทฤษฏีใหม่แนวพระราชดำริการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด แกล้งดิน    แนวพระราชดำริ การป้องกันการเสื่อมโทรมและการพังทลายของดินโดย หญ้าแฝกแนวพระราชดำริ การปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูกแนวพระราชดำริ ป่าเปียกเพื่อความชุ่มชื้นของดินและเป็นแนวป้องกันไฟป่า และแนวพระราชดำริพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ฝายชะลอความชุ่มชื้น


ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไปพิจารณาและดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำ 5 ประเภท คือ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ  โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม  โครงการบรรเทาอุทกภัย


ด้านการป้องกัน น้ำท่วม พระราชทานพระราชดำริให้มีการก่อสร้าง คันน้ำ หรือผนังเลียบลำน้ำ การก่อสร้างทางผันน้ำ ขุดลอกตกแต่งลำน้ำ แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วยโครงการ แก้มลิงโดยการขุดลอกคลองต่าง ๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้ในบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลจะลดลง


ด้านสิ่งแวดล้อม พระราชทานแนวพระราชดำริ ในการบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีหลายวิธีการ เช่น โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย สระเติมอากาศ ชีวภาพบำบัด 


การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ

ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ  ทรงนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการทรงงานต่าง ๆ พระราชดำริ ให้กรมแผนที่ทหาร จัดทำแผนที่ชนิดต่าง ๆ ถวาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบพระราชดำริ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์เสมอ เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน ในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาขนได้ทันท่วงที

 

       

ด้าน คอมพิวเตอร์ ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส.   เผยแพร่ทางสื่อมวลชน ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบและทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียบเรียงเสียง ประสานและพิมพ์โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เป็นต้น


ด้านพลังงานทดแทน พระราชดำริให้เตรียมรับปัญหาด้านพลังงาน   ทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้น โครงการพัฒนาพลังงานทดแทน อาทิ การพัฒนาแก๊สโซฮอล์  การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช  การผลิตดีโซฮอล์เป็นการผสมเอทานอลกับน้ำมันดีเซล

    

ข้อมูล

th.wikipedia.org/wiki/วันเทคโนโลยีของไทย

kanzuksa.com/moto.asp?moto=6&data=20111019

www.belovedking.com/index.php/2009.../2009-11-17-03-51-17.html

รูปภาพ

            http://kasetintree.com/wp-content/uploads/2013/05/8-5-2556-12-56-40.jpg

            http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9812170/E9812170-34.jpg

            https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRwB6fTidK-J3Pjy_iGcckvdlyWHU4liudBZf6dPkjozWmkc9_Bew

            http://www.dsa.sru.ac.th/dsa/images/stories/project-royal/sufficiency/sufficiency-king.jpg

            http://www.khlong-u-taphao.com/upload/forum/04.16.jpg

            http://1.bp.blogspot.com/-uMKIs-g6oQE/USXqLCv_4-I/AAAAAAAAAB0/KiahaUkp10U/s1600/wastewater-treatment.jpg